English Phonetic Symbols


IPA คืออะไร?

IPA คืออะไรเหรอ?

หลายคนอาจเคยเห็นตัวอักษรประหลาดๆ หน้าตาคล้ายๆ ภาษาอังกฤษ อยู่ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ  หลังคำศัพท์ทุกๆ คำ แล้วคิดในใจว่า "มันคือไรว้า?" และ "มันเอาไว้ทำอะไรหว่า?"

เรามาทำความรู้จักกับ IPA กันดีกว่า

"The IPA is the major as well as the oldest representative organisation for phoneticians. It was established in 1886 in Paris. 2011 marked the 125th anniversary of the founding of the IPA, and 2013 marked the 125th anniversary of the first publication of the International Phonetic Alphabet and the formulation of the principles. The aim of the IPA is to promote the scientific study of phonetics and the various practical applications of that science. In furtherance of this aim, the IPA provides the academic community world-wide with a notational standard for the phonetic representation of all languages - the International Phonetic Alphabet (also IPA). The latest version of the IPA Alphabet was published in 2005."

พูดง่ายๆ เลยก็คือ IPA = International Phonetics Association ซึ่งเป็นองค์กรของนักสัทศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งมาเพื่อสนับสนุนการเรียนสัทศาสตร์โดยใช้วิธีการทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยองค์กรนี้ได้สร้าง Notation standard หรือ สัทอักษรเพื่อเป็นตัวแทนของเสียงในทุกภาษา นั่นก็คือ IPA หรือ International Phonetics Alphabet นั่นเอง~

ถ้าใครอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IPA แล้วล่ะก็ เชิญเข้าไปเยี่ยมชม IPA website ได้เลยค่า 


ส่วน IPA Chart เวอร์ชั่นล่าสุด ซึ่งถูกปรับปรุงในปี 2005 หน้าตาเป็นอย่างนี้จ้ะ
https://www.langsci.ucl.ac.uk/ipa/IPA_chart_(C)2005.pdf
คลิกที่รูปภาพเพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้เลยค่ะ 


IPA chart ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ตามหมวดหมู่ต่างๆ ต่อไปนี้

  1. Consonant (Pulmonic) 
  2. Consonant (Non-Pulmonic)
  3. Other symbols
  4. Vowels
  5. Diacritics
  6. Suprasegmentals
  7. Tones and Word accents


นอกจากนี้ยังมี IPA chart สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านการออกเสียง นั่นก็คือ Extended IPA หรือ สัทลักษณ์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาจากตาราง IPA เพื่อช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านการพูด





































ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Communicative Approach